วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้คืออะไร.... ?

งานแก้ตัว

1. ความรู้คืออะไร


- เป็นขั้นแรกของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจดจำ

- ความรู้ เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเรียนรู้ ประกอบไปด้วยคำจำกัดความหรือความหมาย ข้อเท็จจริง ทฤษฎี กฎ โครงสร้าง วิธีการแก้ไขปัญหา และมาตรฐานเป็นต้น

- ความรู้เป็นเรื่องของการจำอะไรได้ ระลึกได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนหรือใช้ความสามารถของสมองมากนัก

- เป็นขั้นตอนที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินผล


2. Tacit knowledge กับ Explicit knowledge



1. ความรู้ที่ไม่ปรากฎชัดแจ้ง (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถเขียนหรืออธิบายได้ การถ่ายโอนความรู้ประเภทนี้ทำได้ยาก จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกฝน (อยู่ในสมองคน เชื่อมโยงกับประสบการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด)



2. ความรู้ที่ปรากฎชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถเขียนหรืออธิบายออกมาเป็นตัวอักษร ฟังก์ชั่นหรือสมการได้ (อยู่ในตำรา เอกสาร วารสาร คู่มือ คำอธิบาย วีซีดี คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูล)



3. กระบวนการปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้แบ่งออกได้เป็น
4 ลักษณะดังนี้





1. Socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่



2. Externalization เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้จาก Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge





3. Combination เป็นขั้นตอนที่สามในการแปลงความรู้ขั้นต้น เพื่อการสร้าง Explicit Knowledge จาก Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้ เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit Knowledge ใหม่ ๆ



4. Internalization เป็นขั้นตอนที่สี่และขั้นตอนสุดท้ายในการแปลงความรู้จาก Explicit Knowledge กลับสู่ Tacit Knowledge ซึ่งจะนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงานหรือใช้ในชีวิตประจำวัน

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

องค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization : LO)

องค์กรแห่งการเรียนรู้” เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้


1. การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1) ระดับการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล การเรียนรู้ระดับกลุ่ม และการเรียนรู้ระดับองค์การ

2) ประเภทของการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์ การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
3) ทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ
3.1) บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)
3.2) แบบแผนทางความคิด (Mental Model)
3.3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
3.4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
3.5) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)
3.6) การสนทนาแบบมีแบบแผน (Dialogue)

2. องค์การ (Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization Transformation) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่
1) วิสัยทัศน์
2) วัฒนธรรมองค์การ
3) กลยุทธ์
4) โครงสร้าง

3. สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People Empowerment) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่
1) บุคลากร
2) ผู้บริหาร / ผู้นำ
3) ผู้รับบริการ / ลูกค้า
4) คู่ค้า
5) พันธมิตร / หุ้นส่วน
6) ชุมชน
4. ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประกอบด้วย
1) การแสวงหาความรู้
2) การสร้างความรู้
3) การจัดเก็บความรู้
4) การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์
5. เทคโนโลยี (Technology) หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Technology Application) ประกอบด้วย
1) เทคโนโลยีสารสนเทศ
2) เทคโนโลยีพื้นฐานของการเรียนรู้
3) ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน
แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
1. บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ
2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model) หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึงวุฒิภาวะ(Emotional Quotient, EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบโดยรวม(Total System) ได้อย่างเข้าใจ แล้วสามารถมองเห็นระบบย่อย(Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน
ลักษณะสำคัญ4
ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้ องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
จะมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังนี้คือ

1. มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ Demming ( PDCA : Plan, Do, Check, Action)
2. มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program
3. มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น case study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ศึกษาถึงความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก
4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview), การสังเกต (Observation) ฯลฯ5. มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report, Demonstration, Training & Education, Job Rotation ฯลฯ










วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

5 วิธีเลือกที่นั่งต้านกระดูกเสื่อม




เมื่อมีอายุมากขึ้นทุกคนอาจเป็นโรคกระดูกเสื่อมได้ตามธรรมชาติ แต่สำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่บนเก้าอี้หลังโต๊ะทำงาน หรือนั่งอยู่บนเก้าอี้หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน โรคนี้อาจมาเยือนได้เร็วกว่าบุคคลอื่น ซึ่งวิธีการป้องกันหรือชะลอภาวะกระดูกเสื่อม แบบง่ายๆ นั้น

ทำได้โดยการเลือกที่นั่งให้เหมาะสม 5 วิธี ดังนี้

1. ความสูงของเก้าอี้ ต้องเท่ากับช่วงยาวของขาท่อนล่าง (น่อง) ตั้งแต่ข้อพับหลังหัวเข่าลงไปถึงเท้า เพื่อจะ ได้วางเท้าราบพื้นพอดี


2. รูปร่างของเบาะนั่ง ต้องไม่บุ๋มเป็นแอ่ง มิเช่นนั้นจะทำให้กระดูเชิงกราน
(ซึ่งเป็นฐานของกระดูกสันหลังทั้งหมด) บิดงอ

3. เบาะไม่ควรอยู่ลึกเกินไป และพนักพิงไม่ควรอยู่ไกลเกินไป หากพิงไม่ถึงและต้องเอนตัวไปด้านหลังจะทำให้หลังงอ

4. ควรมีพนักพิง เพื่อช่วยดันหลังให้อยู่ในท่าตรงตามธรรมชาติ

5. ที่เท้าแขนอยู่ในระดับที่งอข้อศอกแล้ววางแขนได้พอดี เพราะนอกจากใช้พักแขนและข้อศอกแล้วยังใช้สำหรับดันเพื่อยืดตัวให้ตรงขึ้นได้ เล็กน้อยเพียงเท่านี้คงไม่ยากเกินไปที่จะใส่ใจกับสิ่งของที่เราต้องใช้บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว




โดยนายแพทย์ถาวร สุทธิยุทธ์ และนิตยสารชีวจิต
ฉบับ 1 พ.ค. 2552